เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายเกี่ยวกับการอ่าน และเขียนอักษรนำ นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
8
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
วรรณกรรมเรื่อง
หนังล้อมผ้า ตอน “ดงคนดี”

คำถาม: 
-   นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนดีหรือไม่ดี?
- นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าคำใดบ้างที่อ่านเสียงอักษรนำ เพราะเหตุใด?
- นักเรียนจะนำคำศัพท์ไปแต่งประโยคต่างๆเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และร่วมเรียนรู้อย่างไร?
หลักภาษา
-   อักษรนำ
-   แต่งประโยคสร้างสรรค์ครื่องมือคิด
-   Blackboard Share คำที่เป็นภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน
-   Round Robin เรื่องที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน
- Wall thinking ผลงาน
- Show & Share ละคร ลาวลวง
- พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-   วรรณกรรมเรื่อง หนังล้อมผ้า ตอน “ลาวลวง”
-   ห้องสมุด
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน/สลับอ่านออกเสียง
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนแต่งตอนจบใหม่ พร้อมวาดภาพประกอบ
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูให้นักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยนักเรียนอ่านทวนคำศัพท์พร้อมๆกัน แลกเปลี่ยนการสื่อความหมายอีกครั้งหนึ่ง
- นักเรียนเขียนตามคำบอก (๑๕ คำ)
เชื่อม:
นักเรียนอ่านและเขียนคำศัพท์ที่ถูกต้อง พร้อมให้ความหมายของคำศัพท์
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์มาแต่งประโยค ๕ ประโยค พร้อมวาดสื่อความหมาย
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
- อ่านคำศัพท์บนกระดาน (อย่า หย่า หญ้า หวง ขนม  สรุป) พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แต่ละคำอ่านออกเสียงอย่างไร นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากคำศัพท์?”
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์บนกระดาน นักเรียนสังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไรต่อคำศัพท์บนกระดาน มีคำใดอีกบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นคำที่เหมือนกับคำบนกระดาน เพราะเหตุใดจึงเหมือนกัน
ใช้ :
นักเรียนเขียน Web คำอักษรนำ ห อ และสองพยางค์
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
- อ่านคำศัพท์บนกระดาน (ขนม ขนาน ผสม ผสานสรุป สลาย สหาย) พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แต่ละคำอ่านออกเสียงอย่างไร นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากคำศัพท์?”
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์บนกระดาน นักเรียนสังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไรต่อคำศัพท์บนกระดาน มีคำใดอีกบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นคำที่เหมือนกับคำบนกระดาน เพราะเหตุใดจึงเหมือนกัน
ใช้ :
นักเรียนทำใบงานเขียนคำอ่าน (ขนม อ่านว่า ขะ-หนม, ผะ-สม)
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เชื่อม :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำคำอักษรนำไปใช้ในการสื่อสารอย่างไร
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา (คำอักษรนำ)
ใช้ :
นักเรียนสรุป Mind Mapping  คำอักษรนำ
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการตัวละครจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรม นิสัยของตัวละครแต่ละตัว
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-       แต่งตอนจบใหม่
-       แต่งประโยค
-       Web อักษรนำ
-       ใบงานอักษรนำ
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายเกี่ยวกับการอ่าน และเขียนอักษรนำ นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อน
-    เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
-   จัดการข้อมูล สรุปและนำเสนอความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นทราบได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ


กิจกรรม  







ชิ้นงาน

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ อ่านวรรณกรรมหนังล้อมผ้า โดยวันจันทร์พี่ๆอ่านวรรณกรรม โดยอ่านพร้อมกัน และแบ่งกันอ่านในใจ คนละหน้า และนำมาสรุปร่วมกันว่าเหตุการณ์ใน วรรณกรรมหนังล้อมผ้า ตอนดงคนดี เป็นเรื่องอย่างไร วันอังคาร ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ดงคนดีในเรื่อง ทำไมถึงมีการเล่าถึงคนที่ทำตัวเด่นในหมู่บ้าน ที่ไม่ได้ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี” พี่ๆ บอกว่าคนต้องมีดีบ้างไม่ดีบ้าง เลยนำคนที่คนอื่นรู้จักมาเล่า จากนั้นครูให้พี่ๆ ลองเขียนลักษณะของคนดี และไม่ดี ต่างกันอย่างไรบ้าง วันพุธครูทบทวนคำศัพท์ที่พี่ๆ รู้จักเกี่ยวกับอักษรนำ และนำคำที่จะสอนในวันพฤหัสบดี มาให้พี่ๆ สังเกต เช่น สบาย สนุก คำสองคำนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง พี่ๆ อ่าน และช่วยกันอธิบาย
    พี่น้ำตาล “ครูคะ สนุก อ่านว่า สะ-หนุก มี ห นำ ค่ะ”
    พี่ต้นกล้า “สะ-หนุก มี ห นำ แต่ สะ-บาย บอ- อา- ยอ – บาย ไม่มี ห นำครับ” จากนั้นพี่ๆ ช่วยกัน หาคำเพิ่มเติม และคุณครูแจก ใบงาน อักษรนำ
    วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ครูและพี่ๆ ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้ง Quarter นี้และสรุปองค์ความรู้หลังเรียน

    ตอบลบ