เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำการันต์ และ รร มาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้


Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
6
14 – 18
ก.ย.
58
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
ความสุขของกะทิ
ตอน “บ้านชายทะเล”

คำถาม: 
-   คนที่อยู่ชายทะเลมีวิถีชีวิตอย่างไรบ้าง?
-   นักเรียนจะเลือกใช้คำที่มี รร หันอย่างไร และอ่านหรือเขียนอย่างไรบ้าง?
-   นักเรียนจะนำความรู้จากการอ่านวรรณกรรม คำที่มีตัวการันต์ และ รร หันอย่างไรได้บ้างในชีวิตประจำวัน?
หลักภาษา
-   ตัวการันต์
-   คำที่มี รร
-   แต่งเรื่องตามจินตนาการเครื่องมือคิด
-  Round Robin สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำการันต์ และวรรณกรรมที่อ่าน
- Brainstorm คำศัพท์คำการันต์
- Wall thinking ชิ้นงาน บัตรคำการันต์
- Show & Share ผลงานคำการันต์และ รร
-Blackboard Share คำการันต์ และ รร
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-   ความสุขของกะทิ ตอน “บ้านชายทะเล”
-   ห้องสมุด
วันจันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
ออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่

วันอังคาร
ชง:
- ครูและนักเรียนทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากเรื่องที่อ่าน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้านักเรียนเป็นตัวละครนั้นจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด?”
เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวละครแต่ละคน และให้เหตุผลประกอบ
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากเรื่องที่อ่านนักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่คำใดบ้าง แต่ละคำเขียนอย่างไรและหมายความว่าอย่างไรบ้าง?”
ใช้ :
นักเรียนนำคำศัพท์ใหม่มาแต่งประโยคสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง :
-   ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนสังเกต (กรรไกร บุรีรัมย์ ครอบครัว บรรดาอาทิตย์ ทรุดโทรม
-   ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง สามารถจัดหมวดหมู่ของคำเหล่านี้ได้หรือไม่อย่างไรบ้าง
เชื่อม :
-   นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากคำศัพท์ การจัดหมวดหมู่
-   นักเรียนค้นคว้าหาคำที่มีตัวการันต์ที่รู้จักและจากวรรณกรรมเพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์คำการันต์ ๕ คำมาแต่งประโยคสร้างสรรค์
วันพฤหัสบดี
ชง:
-       ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย นักเรียนนำเสนอผลงานบัตรคำการันต์ (คนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
-   ครูนำบัตรคำ รร และคำที่มี รร+ตัวการันต์ ให้             นักเรียนสังเกต พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำเหล่านี้ต่างกันอย่างไรบ้าง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น)
เชื่อม:
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำการันต์ นักเรียนเห็นอะไรจากคำศัพท์บนกระดานคำที่ใช้การันต์หนึ่ง สอง และสามตัว (การันต์ จันทร์ พระลักษมณ์)
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์คำการันต์ที่สนใจ ๑๐ คำแต่งเรื่องราวพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันศุกร์
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำการันต์และเรื่องที่อ่านไปใช้ในการแต่งเรื่องราวสร้างสรรค์อย่างไร
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา พร้อมทั้งเสนอแนะการนำคำการันต์ไปใช้ในการอ่านอย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ตามจินตนาการ โดยใช้คำการันต์กับคำศัพท์อื่นๆ ตามความสนใจพร้อมวาดภาพประกอบเรื่องราว
ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
- ศึกษาค้นคว้าคำการันต์จากเรื่องที่อ่าน
-วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ คำชนิดต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้ (เลือกตามความสนใจ)

ชิ้นงาน:
- แต่งตอนจบใหม่
- ประโยคสร้างสรรค์
 - เรื่องสร้างสรรค์จากคำการันต์

ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำการันต์ และ รร มาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และสื่อความหมายบัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ


กิจกรรม








ชิ้นงาน















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ป.๓ อ่านวรรณกรรม ความสุขของกะทิ ตอน “บ้านชายทะเล” โดยครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มอ่านในแต่ละตอนย่อย และมาสรุปเรื่องร่วมกัน และพี่ๆ แต่งตอนจบใหม่ จากนั้นวันอังคารครูทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวานและเชื่อมโยงจากในเรื่องกับตัวเอง ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ากะทิรู้สึกอย่างไรบ้าง?” พี่ฟีฟ่า “รู้สึกเสียใจค่ะ” พี่น้ำตาล “กะทิรู้สึกเศร้าค่ะ ครูตั้งคำถามต่อ “ถ้านักเรียนจะทำอย่างไรคะ” พี่ต้นกล้า “ทำให้แม่มีความสุข บอกรักแม่ครับ” จากนั้นครูตั้งคำถามเกี่ยวกับทะเล พี่ๆช่วยกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เจอที่ทะเล กิจกรรมที่ทำ เช่น ต้นมะพร้าว เล่นน้ำทะเล กินอาหารทะเล และคุณครูให้พี่ๆ แต่งเรื่องบ้านริมทะเลของฉัน
    วันพุธ ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนจัดหมวดหมู่ เมื่อพี่ๆ จัดหมวดหมู่เกี่ยวกับตัวการันต์ ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “ตัวการันต์มีไว้เพื่ออะไรค่ะ?” พี่ๆบอกว่ามาจากภาษาอังกฤษ เช่น คอมพิวเตอร์ โปสเตอร์ ครูถามต่อ “คำที่มีตัวการันต์นักเรียนจะอ่านอย่างไรคะ?” พี่เจมส์ “คำที่มีตัวการันต์ไม่อ่านครับ เช่น อาทิตย์ ไม่อ่านออกเสียง ย ครับ” จากนั้นครูให้พี่ๆ คนหาคำที่มีตัวการันต์เพิ่มเติมจากวรรณกรรม ความสุขของกะทิ และเลือกคำมาแต่งประโยค
    วันพฤหัสบดี ครูและพี่ๆทบทวนตัวการันต์จากเมื่อวาน และครูเขียนคำศัพท์ที่มี รร หัน พี่ๆ ช่วยกันเสริมคำ ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ แล้วคำที่มีตัวการันต์และ รร หัน ด้วยกันมีอะไรบ้างคะ?” จากนั้นทุกคนนำคำศัพท์ที่มีการันต์และคำ รร หันมาแต่งเรื่องสร้างสรรค์
    วันศุกร์ครูและพี่ๆ ทบทวนความรู้จากวรรณกรรมและหลักภาษาจากนั้นเขียน Mind Mapping สรุปความรู้ในสัปดาห์นี้

    ตอบลบ