เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถอธิบายความหมายและการนำคำที่เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน คำสุภาพไปใช้ในเหตุการณ์ต่างๆ  อีกทั้งนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
2
17 -21
ส.ค.
58

โจทย์ : วรรณกรรม 
หนังล้อมผ้า ตอน “เบ็ดกบ

คำถาม : 
-   ถ้าสัตว์ไม่กินกันเป็นทอดๆ หรือคนไม่กินสัตว์เลยจะเป็นอย่างไร?
-   นักเรียนจะเลือกใช้ภาษาพูด และภาษาเขียนอย่างไรบ้าง?
-   คำสุภาพเป็นอย่างไร เราจะนำมาใช้ได้อย่างไร? 
หลักภาษา :
-   ภาษาพูด ภาษาเขียน
-   คำสุภาพ
ครื่องมือคิด :
-   Blackboard Share 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
-   Round Robin เรื่องที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและภาษาพูด ภาษาเขียน
-   Wall thinking ผลงานการแต่งนิทาน
-   Show & Share นิทานคำศัพท์ภาษาพูด ภาษาเขียน
- พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้ :
-วรรณกรรมหนังล้อมผ้า ตอน “เบ็ดกบ
-บัตรคำภาษาพูด ภาษาเขียน
-ห้องสมุด
วันจันทร์
ชง :
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :
สรุปเรื่องย่อ วาดภาพประกอบเรื่องย่อ นำเสนอผลงาน และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
วันอังคาร
ชง :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด
-   ใครเคยใส่เบ็ดกบบ้าง ได้กบหรือไม่อย่างไร?”
-   “เรียนชอบตัวละครใดในเรื่องบ้างเพราะเหตุใด?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใส่เบ็ดกบ และตัวละครในวรรณกรรมที่อ่าน
ใช้ :
นักเรียนเขียนเรื่องราวและตัวละครที่อยากให้เปลี่ยนในวรรณกรรม พร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง :
ครูนำบัตรคำมาติดบนกระดาษ (วัยโจ๋, เซ็ง, วัว, ควาย) พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นคิด
-   “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
-   “ถ้านักเรียนไม่ใช้คำเหล่านี้จะใช้คำใดแทนได้บ้าง?”      
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบัตรคำ และคำที่ใช้แทนทำเหล่านี้
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะเลือกพูดและเขียนคำเหล่านี้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
-     ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่ใช้พูดและเขียน
-     นักเรียนเสนอคำที่ใช้เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนเพิ่มเติม ครูช่วยเสนอแนะ
ใช้ :
นักเรียนนำคำศัพท์มาแต่งประโยคคนละ ๓ คำเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน
การบ้าน นักเรียนค้นคว้าหาภาษาพูดและภาษาเขียน และคำสุภาพเพิ่มเติม                          
วันพฤหัสบดี
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนการบ้าน
- ครูเขียนคำศัพท์ใหม่ที่นักเรียนค้นหามาบนกระดาน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แต่ละคำมีความหมายอย่างไรนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายของคำและการนำไปใช้
ใช้ :
- นักเรียนเลือกคำศัพท์ภาษาพูดมาแต่งเป็นการ์ตูนช่องและภาษาเขียนแต่งเป็นนิทานอย่างละ ๕ คำ
- นำเสนอผลงานและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
วันศุกร์
ชง :
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงานนักเรียนที่ยังไม่ได้นำเสนอ (แต่งนิทาน)
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้ :
นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการตัวละครจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรม นิสัยของตัวละครแต่ละตัว
-   ค้นคว้าหาคำที่เป็นภาษาพูด ภาษาเขียนและคำสุภาพ
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-       สรุปเรื่องย่อ วาดภาพประกอบ
-       เรื่องราวและตัวละครที่อยากให้เปลี่ยนในวรรณกรรม
-       ประโยคภาษาพูดและภาษาเขียน
-       นิทาน/การ์ตูนช่องภาษาพูดและภาษาเขียน
-       สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด สามารถอธิบายความหมายและการนำคำที่เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน คำสุภาพไปใช้ในเหตุการณ์ต่างๆ  อีกทั้งนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อน
-    เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
-   จัดการข้อมูล สรุปและนำเสนอความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นทราบได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ




 กิจกรรม






ชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ ๒ นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมหนังล้อมผ้า ตอน เบ็ดกบ เมื่ออ่านจบครูให้พี่ๆ ช่วยกันครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ในเรื่องมีตัวละครใครบ้างมีสถานที่ใดบ้าง พี่ๆช่วยกันตอบ และหลังจากนั้นพี่ๆสรุปเรื่องเรื่องย่อของตนเอง
    วันอังคาร ครูทบทวนเรื่องจากการอ่านวรรณกรรมและตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับตัวละครแต่ละตัว นิสัย และนักเรียนคิดว่า ถ้าสัตว์หรือคนไม่กินกันเป็นทอด ๆจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
    พี่ต้นกล้า “ถ้ากบไม่กินแมลง แมลงก็เยอะครับ”
    พี่น้ำตาล “วัว ควายไม่กินหญ้า หญ้าก็เยอะต้นสูงค่ะ”
    จากนั้นครูให้พี่ๆ เลือกเขียนเหตุการณ์หรือตัวละครที่อยากให้เปลี่ยนจากเรื่องนี้
    วันพุธ ครูนำบัตรคำที่เป็นภาษาพูดมาติดไว้บนกระดาน และตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าไม่พูดคำนี้ คุณครูจะเขียนคำใดได้บ้างเช่น คำว่า วัว ควาย พี่ๆ บอกว่า วัว เรียกว่า “โค” ส่วนควาย เรียก “กระบือ” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ถ้าจะเขียนในนิทานนักเรียนคิดว่าจะเขียนคำไหน เพราะอะไรคะ
    บางคนบอกว่า ถ้าเขียนให้เขียน โคและกระบือจะดูสุภาพ แต่ถ้าพูดให้ใช้วัว ควายก็เข้าใจกันได้ บางคนคิดต่างออกไป บอกใช้อะไรก็ได้เหมือนกัน จากนั้นครูให้พี่ๆ ค้นหาคำที่พูดกับเขียนต่างกันเพิ่มเติมและนำมาแต่งประโยค และให้การบ้านพี่ๆ ไปค้นคว้าหาภาษาพูดและภาษาเขียน และคำสุภาพเพิ่มเติม
    วันพฤหัสบดี ครูทบทวนการบ้านที่พี่ๆ ค้นหามาเพิ่มเติม จากนั้นเพื่อนที่ค้นหามาช่วยบอกความหมายขอคำศัพท์ และพี่ๆ เลือกคำศัพท์มาแต่งนิทานและการ์ตูนช่อง
    วันศุกร์พี่ๆ ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์และสรุปความรู้ของตนเอง

    ตอบลบ