เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนเข้าใจและอธิบายองค์ความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจ สามารถคาดเดาคาดคะเนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ได้ รวมทั้งบอกเล่าอธิบายเรื่องราวให้คนอื่นฟังไดอ่านวรรณกรรมและสามารถอธิบายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร อีกทั้งลำดับเรื่องราวและใจความสำคัญของเรื่องได้ มีมารยาทในการพูด ฟังและอ่าน สามารถเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
7
14 – 18
ก.ย.
58
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
ความสุขของกะทิ
ตอน “บ้านกลางเมือง”

คำถาม: 
-   นักเรียนคิดว่าบ้านกลางเมืองมีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
-   นักเรียนจะเลือกสื่อความหมายของคำที่เขียนหรืออ่านเหมือนกันได้อย่างไรบ้าง?

หลักภาษา
-   คำพ้องรูป พ้องเสียง
-   คำที่มี ฤ ฤา
ครื่องมือคิด
-   Blackboard Share คำพ้องรูปและพ้องเสียง
-   Round Robin ความหมายและการนำคำพ้องรูปและพ้องเสียงไปใช้
-   Show & Share นำเสนอการแต่งประโยค
-   พฤติกรรมสมอง

สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-   วรรณกรรมเรื่อง หนังล้อมผ้า ตอน “ลาวลวง”
-   ห้องสมุด
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้: นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่อง“บ้านกลางเมือง”
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด นักเรียนคิดว่า อะไรบ้างที่มีความเกี่ยวข้องกับบ้าน และบ้านมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบ้านและตนเอง
ใช้:
นักเรียนแต่งเรื่องเปรียบเทียบบ้านกลางเมืองและบ้านกลางทุ่ง พร้อมวาดภาพสื่อความหมาย
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง : 
-     ครูเขียนคำศัพท์บนกระดานให้นักเรียนสังเกต (ซ่อม-ส้อม, ซิ่น-สิ้น, สระ, เพลา)
-     ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “แต่ละคำอ่านออกเสียงว่าอย่างไรบ้าง ทำไมจึงอ่านแบบนั้นและมีความหมายอย่างไร?”
เชื่อม :
-     ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการอ่านคำศัพท์แต่ละคำ ความหมายจากการอ่านจากประโยค  
-     นักเรียนค้นหาคำศัพท์พ้องรูป คำพ้องเสียงในวรรณกรรมหรือหนังสืออื่นๆ
ใช้ :
นักเรียนเขียนแต่งประโยคจากคำศัพท์ที่ค้นคว้ามา คนละ ๕ ประโยค
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง : 
-     ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาน
-     ครูติดบัตรคำ ฤ และ ฤา ครูกระตุ้นด้วยคำถาม  “นักเรียนเจอคำใดบ้างที่ใช้ตัว ฤ และ ฤา คำนั้นอ่านว่าอย่างไรบ้าง มีความหมายอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ ฤ และ ฤา ครูเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม  
ใช้ :
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องจากคำศัพท์อย่างสร้างสรรค์
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
- ครูและนักเรียนสนทนาทักทายทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ไปใช้ในการสื่อสารอย่างไร
เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
 นักเรียนเขียนความเรียงสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นการ์ตูนช่อง
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการตัวละครจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรม นิสัยของตัวละครแต่ละตัว
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-       แผนภาพโครงเรื่องบ้างกลางกรุง
-       แต่งเรื่องบ้านกลางกรุ่งและบ้านกลางทุ่ง
-       แต่งประโยค
-       แต่งเรื่องสร้างสรรค์
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอ่าน เขียนอธิบายการใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง คำที่มี ฤ ฤา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อน
-    เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
-   จัดการข้อมูล สรุปและนำเสนอความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นทราบได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ



กิจกรรม







ชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ อ่านวรรณกรรมความสุขขอบกะทิตอนจบ คือตอนบ้านกลางเมือง คุณครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มอ่านในใจและมาเล่าเรื่องต่อกันเพราะเนื้อเรื่องค่อนข้างยาว และให้พี่ๆ คาดเดาตอนจบ โดยวันนี้พี่ๆ อ่านยังไม่จบ
    วันอังคาร พี่ๆ อ่านเรื่องต่อ จนจบและคุณครูสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับตัวละครในเรื่องจากที่อ่านจนจบพี่ๆ คิดว่าตัวละครแต่ละตัวเป็นเช่นไร ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ตัวอย่าง เช่น พี่น้ำตาล “หนูชอบคุณตา คุณยายค่ะ รักและเลี้ยงกะทิจนโต”
    วันพุธ ครูนำบัตรคำให้นักเรียนสังเกต เช่น ซ่อม-ส้อม, ซิ่น-สิ้น, สระ, เพลา พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนอ่านคำเหล่านี้อย่างไร พี่ๆ ช่วยกันอ่าน เช่น พี่บิว “สระครับ” พี่ออม “สระค่ะ” พี่ต้นกล้า “สะ-หระครับ” ครูจึงตั้งคำถาม ทำไม่นักเรียนอ่านไม่เหมือนกัน พี่ๆ บอกว่าเป็นคำพ้องรูป และคำอื่นล่ะคะ พี่เจมส์ “ซ่อมกับส้อม เป็นคำพ้องเสียงครับ” จากนั้นครูให้นักเรียนอธิบายความหมายให้เพื่อนที่ยังไม่เข้าใจฟัง และตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ แล้วเราจะเลือกอ่านหรือเขียนคำเหล่านี้อย่างไร พี่น้ำตาล “คุณครูค่ะสังเกตจากตัวประโยคค่ะ” จากนั้นครูให้แต่งประโยคจากคำพ้องรูปและพ้องเสียง
    วันพฤหัสบดี ครูเขียนคำที่มี ฤ ฤา ให้พี่ๆ สังเกต และพี่ๆ แบ่งกลุ่มเขียนคำที่มี ฤ ฤา ให้มากที่สุด และยอกความหมายของคำ จากนั้นครูกำหนดคำพ้องเสียงให้ 1 คำ และให้พี่ๆเติมคำที่ออกเสียงเหมือนคำนี้ เมื่อเขียนเสร็จพี่ๆ ช่วยกันอธิบายความหมาย และนำคำที่ตนเองไม่รู้จักเขียนลงในสมุด 6 คำ
    วันศุกร์พี่ๆ ทบทวนสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้และสรุปความเข้าใจของตนเอง

    ตอบลบ