เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายคำที่มักเขียนผิด  นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
5
7-11 ก.ย.
58
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
หนังล้อมผ้า ตอน “หนังล้อมผ้า”
คำถาม : 
-    คนอีสานมีวิถีชีวิตอย่างไรบ้าง และเด็กเล่นหรือหาความบันเทิงได้จากที่ไหน อย่างไรบ้าง?   
-    นักเรียนจะรู้ หรือสังเกตได้อย่างไรว่า คำใดบ้างที่เขียนผิดหรือถูกอย่างไรบ้าง?
-    ในชีวิตประจำวันนักเรียนเจอคำใดบ้างที่มักเขียนผิด?
หลักภาษา : 
-   คำที่มักผิด
-   เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
เครื่องมือคิด : 
-   Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวละครจากการอ่านวรรณกรรมและหลักภาษา
-   Brainstorm  ความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกันคำที่มักเขียนผิด
-   Blackboard Share คำที่มักเขียนผิดในชีวิตประจำวัน
-    Wall thinking ติดชิ้นงานบัตรคำศัพท์ที่มักเขียนผิด
-   Show & Share นำเสนอคำที่มักเขียนผิด
-   พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-   บรรยากาศในชั้นเรียน
-   หนังล้อมผ้า ตอน “หนังล้อมผ้า”
-   แท็ปเล็ต
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
- เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก พร้อมแลกเปลี่ยนการสื่อความและการนำไปใช้
ใช้ :
นักเรียนนำคำที่เขียนคำศัพท์ตามคำบอก ๕ คำแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง :
ครูแจกบทความให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างโดยครูเขียนคำศัพท์นั้นบนกระดาน
เชื่อม :
-     นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ คำที่เขียนผิดบนกระดาน พร้อมทั้งเสนอแนะคำที่เขียนถูกเพิ่มเติม
-     นักเรียนค้นหาคำที่มักเขียนผิดและนำมาเขียนบนกระดาน ครูและเพื่อนๆ อ่านและอธิบายความหมายของคำ
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่มักเขียนผิดคนละคำ เขียนบัตรคำพร้อมวาดภาพสื่อความหมาย
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง:
 ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย นักเรียนนำเสนอผลงานบัตรคำที่มักเขียนผิด (คนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
 เชื่อม:
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่มักเขียนผิดนักเรียนเห็นอะไรจากคำศัพท์บนกระดานคำที่มักเขียนผิดในชีวิตประจำวัน
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่มักเขียนผิดที่สนใจ ๑๐ คำแต่งเรื่องราวพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มักเขียนผิดและเรื่องที่อ่านไปใช้ในการแต่งเรื่องราวสร้างสรรค์อย่างไร
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา พร้อมทั้งเสนอแนะการเขียนคำที่มักเขียนผิด
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ตามจินตนาการ โดยใช้คำการันต์กับคำศัพท์อื่นๆตามความสนใจพร้อมวาดภาพประกอบเรื่องราว

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับ
พฤติกรรม นิสัยจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับการนำไปปรับใช้ในชีวิต
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-   สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ
-   บัตรคำที่มักเขียนผิด
-   เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์คำที่มักเขียนผิด
-   สรุปการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายคำที่มักเขียนผิด  นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-   เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ


 กิจกรรม



ชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมหนังล้อมผ้า ซึ่งถือว่าค่อนข้างยาว โดยพี่ๆ อ่านพร้อมกันและอ่านคนละย่อหน้า โดยวันนี้ๆ พี่ๆ อ่านยังไม่จบ ครูให้พี่ๆ ช่วยกันทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง และให้อ่านต่อจนจบพร้อมเขียนสรุปเรื่องย่อมา
    วันอังคารครูและพี่ๆ ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นจากในวรรณกรรมและพี่ๆ เขียนตามคำบอก ๑๒ คำ จากนั้นพี่ๆ ช่วยกันสะกดคำที่ถูกต้อง อ่าน และบอกความหมายของคำ คนไหนเขียนผิดคำไหนก็ให้แก้เป็นคำที่ถูกต้องและนำไปแต่งประโยคคนละ ๓ คำ
    วันพุธครูให้พี่ๆ อ่านบทความ เมื่อทุกคนอ่านจบ ครูตั้งคำถามพี่ๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง
    พี่เปรม “คำที่สะกดไม่ตรงมาตราครับ”
    พี่น้ำตาล “คำควบกล้ำค่ะ”
    พี่บิว “คำที่เขียนผิดครับ”
    ครู “พี่บิวสังเกตเห็นคำที่เขียนผิด คำไหนค่ะ”
    พี่บิว “ขะโมยครับ”
    พี่ต้นกล้า “ผมเห็นคำว่า โอกาสครับ”
    ครู นอกจากนี้พี่ๆ สังเกตเห็นอะไรอีกบ้างค่ะ
    พี่ๆ ช่วยกันหาคำที่เขียนผิด และคุณครูได้ให้พี่ๆ นำบทความมาคัดลายมือและแก้ไขคำที่ผิดไม่ได้ทำตามแผนที่เขียนไว้ เนื่องจากครูสังเกตเห็นลายมือของพี่ๆ เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม
    วันพฤหัสบดี ครูทบทวนกิจกรรมจากเมื่อวาน และเขียนคำศัพท์บนกระดาน 2 แบบ เช่น กระเพรา-กะเพรา, อนุญาต-อนุญาติ ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าคำใดเขียนถูกบ้าง พี่ๆ ช่วยกันตอบ หลังจากนั้นพี่ๆ ค้นหาคำที่มักเขียนผิด และนำมาเขียนเป็นบัตรคำ (วันนี้ไม่ได้ทำตามแผน)
    วันศุกร์พี่ๆ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์และสรุปความรู้ที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์นี้

    ตอบลบ