เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายการใช้เลขไทย เครื่องหมายวรรคตอน นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์


Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
4
31 ส.ค.-
1-4 ก.ย.
58
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
ความสุขของกะทิ
ตอน “บ้านริมคลอง”
คำถาม : 
-    วิถีชีวิตของคนบ้านริมคลองเป็นอย่างไรบ้าง?
-    นักเรียนจะนำเลขไทยและเครื่องหมายวรรคตอนไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?

หลักภาษา : 
-   การใช้เลขไทย
-   เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องมือคิด : 
-   Jig Saw อ่านและเล่าเรื่องจากการอ่านวรรณกรรม
-   Round Robin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวละครจากการอ่านวรรณกรรมและหลักภาษา
- Wall thinking ติดชิ้นงานเครื่องหมายวรรคตอน
- Show & Share นำเสนอการใช้เครื่องหมายวรรคตอน
- พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
ความสุขของกะทิ
ตอน “บ้านริมคลอง”

วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
นักเรียนแบ่งกลุ่มอ่านวรรณกรรมในใจ
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนนำเสนอการเล่าเรื่องในแต่ละตอน
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง:
-     ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา “บ้านริมคลอง”
-     ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด ถ้านักเรียนเป็นกะทิ นักเรียนจะรู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้อยู่บ้านริมคลอง?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอยู่บ้านริมคลอง
ชง:
ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด
-    นักเรียนชอบหรือไม่ชอบใครในเรื่องนี้ เพราะเหตุใด?
-    นักเรียนคิดว่า คุณตากับคุณยายของกะทิ ทำไม่ถึงต้องว่ากล่าวกันบ่อยๆ?
ใช้:
นักเรียนแต่งเรื่องจากชื่อตอนจากบ้านริมคลอง
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง:
-     ครูนำบัตรคำเครื่องหมายวรรคตอนมาติดให้นักเรียนสังเกต
-     ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเครื่องหมายเหล่านี้ตรงกับชื่อใดบ้าง อ่านอย่างไร?”
เชื่อม:
-   ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเครื่องหมายและชื่อจากบัตรคำ
-   นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายวรรคตอนแต่ละอย่าง
ใช้:
นักเรียนเขียนเครื่องหมายวรรคตอนและการใช้งาน พร้อมนำเสนอให้เพื่อนพร้อมนำเสนอให้เพื่อนฟัง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง:
-     ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา
-     ครูเขียนตัวเลขไทย พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเคยเจอตัวเลขไทยที่ไหนบ้าง?”                 
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับตัวเลขไทยที่พบ
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะใช้ตัวเลขไทยเมื่อใดบ้าง เพราะเหตูใด?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับตัวเลขไทย
ใช้:
นักเรียนนำเครื่องหมายวรรคตอน (การย่อหน้า และเลขไทยมาเขียนสรุปความเข้าใจ
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
นักเรียนใส่เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ตามความเหมาะสมในประโยคที่กำหนดให้ และเขียนเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับ
พฤติกรรม นิสัยจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับการนำไปปรับใช้ในชีวิต
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-   เขียนแต่งเรื่องจากชื่อตอนบ้านริมคลอง
-   การใช้เครื่องหมายวรรคตอนแต่ละชนิด
-   สรุปการใช้เครื่องหมายวรรคตอน
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายการใช้เลขไทย เครื่องหมายวรรคตอน นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- การทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-   เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่อหังการ


กิจกรรม 







ชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่อ่านวรรณกรรมความสุขของกะทิ โดยคุณครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มอ่านตอน “บ้านริมคลอง” ซึ่งจะมีตอนย่อยๆ ในเรื่อง เมื่อทุกกลุ่มอ่านจบ นำเล่าแต่ละตอนของตนเองให้เพื่อนๆ กลุ่มอื่นๆ ฟัง
    วันอังคารครูและนักเรียนทบทวนเรื่องจากการอ่านเมื่อวันจันทร์ จากนั้นครูตั้งคำถาม นักเรียนคิดว่าตัวละครแต่ละตัวมีนิสัยอย่างไรบ้าง
    พี่ต้นกล้า “คุณยายชอบว่าคุณตาครับ ผมสงสารคุณตา”
    พี่ออม “คุณตาเป็นคนที่รักกะทิค่ะ”
    ครู “นักเรียนชอบตัวละครใดบ้างในเรื่องนี้
    พี่วาหวา “กะทิค่ะ เพราะดูมีความสุขอยู่ตลอดเวลา” จากนั้นนักเรียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์จากชื่อตอนย่อย ในบ้านริมคลอง เช่น กระทะกับตะหลิว ปิ่นโต กะละมังกับไม้หนีบผ้า ฯลฯ
    วันพุธ และวันพฤหัสบดี นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ โดยคุณครูนำบัตรคำพร้อมสัญลักษณ์ให้นักเรียนได้เลือกจับคู่ โดยพี่ๆ รู้จักเครื่องหมายไม่ครบทุกตัว เช่น เครื่องหมายตกใจ ไม้ยมก จากนั้นครูให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มศึกษาเครื่องหมายอื่นๆ และศึกษาการใช้ และนำเสนอให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ ฟัง และเขียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนย่อหน้าของตนเอง
    วันศุกร์พี่ๆ สรุปการใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ของตนเอง

    ตอบลบ