เป้าหมาย (understanding Goal):

เป้าหมาย (understanding Goal):
ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียนอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์
            นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายการเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาถิ่นได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome
3
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
หนังล้อมผ้า ตอน “ลาวลวง”

คำถาม: 
-   ทำไมคนอีสานถึงเรียกว่าลาว?
-   นักเรียนจะนำการฟัง พูด อ่าน เขียนคำที่เป็นภาษาไทยมาตรฐานและ ภาษาถิ่นอย่างไร มีวิธการเลือกใช้อย่างไรบ้าง

หลักภาษา
-   ภาษาไทยมาตรฐาน
-   ภาษาถิ่น
ครื่องมือคิด
-   Blackboard Share คำที่เป็นภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน
-   Round Robin เรื่องที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและภาษาถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน
- Show & Share นำเสนอละครภาษาถิ่น
- พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-   วรรณกรรมเรื่อง หนังล้อมผ้า ตอน “ลาวลวง”
-   ห้องสมุด
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่

วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับเราบ้าง นักเรียนคิดว่าแม่ของเราจะทำอย่างไร และถ้านักเรียนเป็นบ่าวจะทำอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวละคร และตนเอง
ใช้: นักเรียนแต่งตอนจบใหม่พร้อมวาดภาพสื่อความหมาย
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง:
ครูติดบัตรคำภาษาถิ่นบนกระดาน จากเรื่องที่อ่าน พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้เป็นคำชนิดใดบ้าง ใช้อย่างไร?”
เชื่อม:
-   ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคำจากบัตรคำ
-   นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับคำ ภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาถิ่นเพิ่มเติม จากหนังสือนิทาน สอบถาม ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นๆ
ใช้:
นักเรียนแบ่งกลุ่มออกแบบละครภาษาไทยมาตรฐานเป็นการ์ตูนช่อง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักเรียนทำถึงไหนแล้ว
เชื่อม:
-   นักเรียนทำงานต่อจากเมื่อวาน             
-   นักเรียนซ้อมแสดงละครเป็นภาษาถิ่น
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง:
นักเรียนนำเสนอละครภาษาถิ่น
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
นักเรียนเขียนความเรียงสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการตัวละครจากเรื่องที่ได้อ่าน
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับพฤติกรรม นิสัยของตัวละครแต่ละตัว
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
-       แต่งตอนจบใหม่
-       การ์ตูนช่อง ละคร ภาษา
-       สรุปการเรียนรู้การใช้ภาษา
ความรู้
นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง และสามารถอธิบายความหมาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด อีกทั้งอธิบายการเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาถิ่นได้อย่างเหมาะสมสร้างสรรค์

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์ หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อน
-    เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
-   จัดการข้อมูล สรุปและนำเสนอความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นทราบได้
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ



 กิจกรรม








ชิ้นงาน













1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมหนังล้อมผ้า ตอน ลาวลวง ครูตั้งคำถามก่อนเริ่มอ่านพี่ๆ คิดว่า คำว่าลาวลวงหมายถึงอะไรบ้าง พี่ๆ บอกว่า คนอีสานอยู่ในหมู่บ้านชนบทบ้าง คนอีสานไปทำงานในกรุงเทพบ้าง จากนั้นพี่ๆ ได้อ่านวรรณกรรมและคุณครูให้พี่ๆ สรุปเรื่องย่อจากการอ่านวรรณกรรม
    วันอังคาร ครูนำพฤติกรรมต่างๆ ของตัวละครมาให้พี่ๆ ช่วยกันวิเคราะห์ เช่น คิดว่าการที่บ่าวไปทำงานในกรุงเทพแล้วกลับมามีเงินซื้อของมากมายเค้ามีความสุขหรือไม่อย่างไร พี่ๆ บอกว่า น่าจะมีความสุขเพราะทำให้พ่อแม่มีความสุข ตัวเองก็สุขด้วย ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ จากวรรณกรรมตอนลางลวง “ลาวลวงคืออะไร” พี่ดาก้า “ลาวลวงคือคนอีสานหลอกกันเองครับ” พี่ต้นกล้า “คนลาวหลอกกันครับ ไปทำงานแล้วหลอกกัน” จากนั้นครูให้พี่ๆ ลวงแต่งตอนจบใหม่พี่ๆ อยากให้เรื่องราวเป็นอย่างไรบ้าง
    วันพุธครูนำบัตรคำที่เป็นคำภาษาถิ่นจากในเรื่องให้นักเรียนสังเกต โดยพี่ๆ บอกว่าคำเหล่านี้เป็นคำภาษาลาวบ้าง ภาษาอีสานบ้าง บางคนบอกภาษาท้องถิ่น จากนั้นพี่ๆ ช่วยกันหาคำที่เป็นภาษาถิ่นจากวรรณกรรม และเปลี่ยนเป็นภาษาไทยมาตรฐาน หลังจากนั้นพี่ๆ ออกแบบละครภาษาถิ่น โดยทำจากการ์ตูนช่องที่เป็นภาษาไทยมาตรฐานและทำต่อในวันพฤหัสบดีพร้อมกับซ้อมละครของตนเองเป็นภาษาถิ่น
    วันศุกร์พี่ๆ แสดงละครของตนเอง ทบทวนและสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งสัปดาห์

    ตอบลบ